top of page

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพอากาศในสถานประกอบการและที่ตัวบุคคล

การตรวจวัดฝุ่น

ฝุ่น หรืออนุภาคสารแขวนลอยทั้งหมด (Total SuspendedParticulate, TSP) และฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM -10) มีวิธีการเฉพาะเป็นวิธี manual เป็นวิธีอ้างอิง มีอุปกรณ์เก็บเรียกว่า high - volume อุปกรณ์เก็บตัวอย่างจะมีองค์ประกอบสำคัญคือ ปั๊มดูดอากาศ และอุปกรณ์บันทึกอัตราการไหลหรืออุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลอย่างไดอย่างหนึ่ง การเก็บตัวอย่างฝุ่น (TSP) อากาศจะดูดผ่านแผ่นกรอง ในอัตราการไหล 40-60ลูกบาศก์ฟุตต่อนาทีให้ฝุ่นที่มีขนาด 0.3 - 100 ไมครอน ถูกดักไว้ที่แผ่นกรองชนิด glass fiber filter หรือ membrane filter ความเข้มข้นของฝุ่นในบรรยากาศ (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) จะคำานวณได้จากปริมาณของฝุ่นบนกระดาษกรองที่ชั่งได้กับปริมาตรของอากาศที่ผ่านแผ่นกรองดังกล่าว โดยปกติจะเก็บตัวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมง จะทำาให้ได้ตัวอย่างฝุ่นที่พอเพียงในการวิเคราะห์ แม้ว่าในอากาศจะมีฝุ่นอยู่เพียง 1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก็ตามอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง High - Volume

อุปกรณ์PM - 10

อุปกรณ์ PM - 10 มีพื้นฐานการทำางานเหมือนกับอุปกรณ์high - volume แต่จะมีขั้นตอนการกำจัดอนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่า10 ไมครอน ก่อนที่อากาศจะถูกดึงผ่านตัวกรอง การออกแบบได้อาศัยหลักการของการชน (impaction) และการตกสูพื้น (settlingchamber) ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนเท่านั้นที่จะตกอยู่บนกระดาษกรอง

วิธีการวัดฝุ่นทีมีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ด้วยระบบ Beta rayabsorption

ระบบ Beta ray absorption หรือ Beta-guage attenuator หมายถึง การตรวจวัดฝุ่นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อดูดอากาศเข้ามาในระบบ ฝุ่นจะตกลงมาบนกระดาษกรอง และจะมีแหล่งกำาเนิดของรังสีเบต้า ซึ่งเป็นรังสีพลังงานต่ำฉายผ่านกระดาษกรอง ซึ่งจะหาความสัมพันธ์ของปริมาณรังสีที่ฉายและรังสีที่ผ่านกระดาษกรองออกมาเมื่อไม่มีและเมื่อมีฝุ่นละอองเกาะอยู่และนำไปเทียบหาความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่ตรวจวัด

การตรวจวัดก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ ในบรรยากาศ

วิธีการตรวจวัดค่าซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ (SO2) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ใช้วิธีการตรวจวัดตามวิธีการมาตรฐานและวิธีการเทียบเท่าซึ่งกำหนดโดยองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศสหรั ฐอเมริกา (US.EPA) ซึ่งกำหนดวิธีการวัด SO2โดยวิธีพาราโรซานิลีน (Pararosaniline) เป็นวิธีการมาตรฐาน และวิธียูวีฟลูออเรสเซนซ์ (UV-Fluorescence) เป็นวิธีเทียบเท่า

วิธีการตรวจวัดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

วิธีการตรวจวัดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันในต่างประเทศและประเทศไทย ใช้วิธีการตรวจวัดตามมาตรฐาน และวิธีการเทียบเท่าเป็นการวัดด้วยเครื่องมือตรวจวัดอัตโนมัติ (automatic) ไม่มีวิธี manual ซึ่งกำาหนดวิธีการวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) โดยระบบ Non DispersiveInfraredDetection: NDIR เป็นวิธีมาตรฐาน

bottom of page